สัพนามไทยในบังคับสากล: คัดจากราชกิจจานุเบกสา

จอมพล ป. พิบูลสงคราม เขียน
ควง อภัยวงศ์ ลบ
Summer Panadd วาด

[To read “Thai Universal Pronouns: A Failed Fascist Experiment and Its Queer Attraction” with an introduction in English, click here]

เอกสารชุดนี้ประกอบไปด้วย

  1. ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี
    เรื่องวางระเบียบ คำแทนชื่อ และคำรับ คำปติเสธ (๒๔๘๕)
    ราชกิจจานุเบกสา เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๔๑ (หน้า ๑๓๐๑-๑๓๐๓)
  2. ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี
    เรื่องเปลี่ยนแปลงคำรับ คำปติเสธ และไห้ไช้ระเบียบคำแทนชื่อ คำรับ คำปติเสธโดยเคร่งครัด (2486)
    ราชกิจจานุเบกสา  ตอนที่ 45 เล่ม 60 (หน้า 1304-1305)
  3. ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่อง ไห้ยกเลิกระเบียบคำแทนชื่อ คำรับ คำปติเสธ (2487)
    ราชกิจจานุเบกสา  ตอนที่ 57 เล่ม 61 (หน้า 827)

ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี
เรื่องวางระเบียบ คำแทนชื่อ และคำรับ คำปติเสธ

ด้วยคนะกัมการ ส่งเสิมวัธนธัมภาสาไทยได้ประชุมเมื่อวันที่ ๓๐ พรึสภาคม ๒๔๘๕ พิจารนาปรึกสากันเห็นว่า คำแทนชื่อ และคำรับ คำปติเสธ ที่ไช้อยู่ไนภาสาไทยมีมากคำ และการไช้ก็สับสนปะปนกันมาก ไม่เป็นระเบียบ สมควนไช้คำเหล่านี้ไนภาสาไทยไห้เป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งไนการเขียนและการพูด แต่คำแทนชื่อสำหรับบุรุสและพจน์อื่น ๆ ไม่สู้มีปัญฺหายุ่งยากนัก ยังมีปัญฺหาอยู่แต่บุรุสที่ ๑ เอกพจน์ควนจะได้รับพิจารนาเป็นพิเสส เมื่อได้มีอภิปรายกันแล้ว ยังคงมีคำที่เหลือไว้พิจารนาสองคำ คือ ฉัน และ ข้าเจ้า จึงลงมติว่า ไนการนี้ควนที่จะได้ฟังความคิดความเห็นของประชาชนส่วนรวมโดยทั่วไป จึงขอไห้กรมโคสนาการช่วยโคสนาขอความคิดความเห็น ทั้งจากหนังสือพิมพ์และประชาชน ต่อมาได้ปรากตข้อความสแดงเหตุผลทั้งไนหนังสือพิมพ์และที่ประชาชนส่งมา แต่ส่วนมากสนับสนุนไปไนทางที่ไห้ไช้คำว่า “ ฉัน ” กัมการคนะนี้จึงได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๘๕ พิจารนาเห็นว่าควนไช้คำแทนชื่อและคำรับ คำปติเสธ ไห้เป็นระเบียบ โดยอนุโลมตามความเห็นของประชาชนส่วนมาก และได้เสนอการวางระเบียบมายังคนะรัถมนตรี ดังต่อไปนี้

๑. คำแทนชื่อ

 เอกพจน์พหูพจน์
บุรุสที่ ๑ ไห้ไช้ว่าฉันเรา
บุรุสที่ ๒ ไห้ไช้ว่าท่านท่านทั้งหลาย
บุรุสที่ ๓ ไห้ไช้ว่าเขา มันเขาทั้งหลาย พวกมัน

คำว่า “ มัน ” ไห้ไช้ฉเพาะที่ไม่ไช่บุคคล และไม่ไช่สิ่งสักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือ

๒. คำรับ คำปติเสธ

คำรับไห้ไช้ว่าจ้ะ
คำปติเสธไห้ไช้ว่าไม่
ส่วนราชาสัพท์ไห้คงไช้ตามเดิม 

คนะรัถมนตรีได้พิจารนาระเบียบคำแทนชื่อ และคำรับ คำปติเสธ ตามที่นะกัมการส่งเสิมวัธนธัมภาสาไทยเสนอมาข้างต้นนี้ มีความเห็นชอบด้วย จึงลงมติเป็นเอกฉันท์ ไห้ไช้ระเบียบนี้พายไนวงราชการทั่วไป และถ้าประชาชนพายนอกประสงค์จะอนุโลมไช้ตาม ก็ไห้ไช้ได้

ประกาส นะ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๘๕
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัถมนตรี


ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี
เรื่องเปลี่ยนแปลงคำรับ คำปติเสธ และไห้ไช้ระเบียบ
คำแทนชื่อ คำรับ คำปติเสธโดยเคร่งครัด

ตามประกาสสำนักนายกรัถมนตรี ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2485 ไห้ไช้ระเบียบคำแทนชื่อ และคำรับ คำปติเสธ เปนทางราชการแล้วนั้น บัดนี้เปนเวลาล่วงเลยมานานพอสมควนแล้ว ปรากตว่าคำรับ คำปติเสธ นั้น ประชาชนส่วนมากยังไม่นิยมไช้กัน สมควนเปลี่ยนแปลงเสียไหม่เพื่ออนุโลมตามความนิยมของประชาชน ส่วนคำแทนชื่อนั้น ได้นิยมไช้กันหยู่ส่วนมากแล้ว ควนถือไช้เปนระเบียบโดยเคร่งครัดสืบไป คนะรัถมนตรีจึงได้พิจารนาและลงมติเปนเอกฉันท์ไห้ยกเลิกคำรับ คำปติเสธ ตามประกาสสำนักนายกรัถมนตรี ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2485 และไห้ไช้คำรับ คำปติเสธ ดังต่อไปนี้แทน

คำรับ คำปติเสธ

คำรับสำหรับชาย
สำหรับหยิง
ไห้ไช้ว่า
ไห้ไช้ว่า
ครับ
ค่ะ
คำปติเสธ ไห้ไช้ว่าเปล่า

ไห้ทางราชการและประชาชนทั้งหลาย ไช้ระเบียบคำแทนชื่อตามประกาสสำนักนายกรัถมนตรี ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2485 และคำรับ คำปติเสธ ตามประกาสฉบับนี้โดยเคร่งครัดตั้งแต่บัดนี้เปนต้นไป

ประกาส นะ วันที่ 24 มิถุนายน 2486
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัถมนตรี


ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี
เรื่อง ไห้ยกเลิกระเบียบคำแทนชื่อ คำรับ คำปติเสธ

ด้วยตามประกาสสำนักนายกรัถมนตรี ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2485 เรื่อง วางระเบียบคำแทนชื่อ คำรับ และคำปติเสธ เพื่อไช้พายไนวงราชการทั่วไป และประกาสสำนักนายกรัถมนตรี ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2486 เรื่อง เปลี่ยนแปลงคำรับ คำปติเสธ และไห้ไช้ระเบียบคำแทนชื่อ คำรับ คำปติเสธ โดยเคร่งครัด นั้น

บัดนี้ คนะรัถมนตรีได้พิจารนาเห็นว่า สมควนไห้เปนไปตามความนิยมของประชาชนและความสดวกไนทางราชการ จึงลงมติเปนเอกฉันท์ ไห้ยกเลิกประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่อง วางระเบียบคำแทนชื่อ คำรับ และคำปติเสธ ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2485 และประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่อง เปลี่ยนแปลงคำรับ คำปติเสธ และไห้ไช้ระเบียบคำแทนชื่อ คำรับ คำปติเสธ โดยเคร่งครัด ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2486 เสีย ไห้คงไช้ตามระเบียบปติบัติที่นิยมกันมาแต่เดิม

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เปนต้นไป

ประกาส นะ วันที่ 5 กันยายน 2487
ควง อภัยวงส์
นายกรัถมนตรี

One thought on “สัพนามไทยในบังคับสากล: คัดจากราชกิจจานุเบกสา

Leave a comment